หัวข้อ   “84 พรรษา มหามงคล”
 
                 เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุครบ 84 พรรษา
ในวันที่ 5 ธันวาคม ที่จะถึงนี้ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ได้ดำเนินการ
สำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “
84 พรรษา มหามงคล” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชน
ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 1,133 คน เมื่อวันที่ 28 – 30
พฤศจิกายน ที่ผ่านมา พบว่า
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
 
                 สิ่งที่คนไทยตั้งใจจะทำถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ จะทำ
ความดีและเป็นคนดีของสังคม (ร้อยละ 53.7)
รองลงมาคือ จะทำบุญ ปฏิบัติธรรม เพื่อ
ถวายเป็นพระราชกุศล (ร้อยละ 15.7) และจะจุดเทียนถวายพระพรให้พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวทรงหายประชวร มีพระวรกายแข็งแรงและมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน(ร้อยละ 9.6)
 
                 ในส่วนของพระราชจริยวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่คนไทยจะ
น้อมนำมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต คือ การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายและพอเพียง
(ร้อยละ 50.0)
การมีความกตัญญู (ร้อยละ 10.9) และการประหยัดอดออม (ร้อยละ 10.7)
รวมถึงการเสียสละเพื่อส่วนรวม (ร้อยละ 10.7)
 
                 ส่วนพระบรมราโชวาทหรือพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ประทับใจและเป็นที่จดจำของ
คนไทยมากที่สุด คือ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ร้อยละ 58.9)  รองลงมา คือ การรู้รักสามัคคีของคนไทย (ร้อยละ 10.3)
และ การบริหารจัดการน้ำ สร้างเขื่อน และฝายชะลอน้ำ (ร้อยละ 6.0)
 
                 สำหรับหลักการหรือแนวคิดของพระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัวที่คนไทยต้องการให้รัฐบาลน้อมนำไปปฏิบัติมากที่สุด
เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมายุครบ 84 พรรษา  คือ  การยึดหลักความสามัคคี ไม่แบ่งพวกพ้องในการบริหารประเทศ
(ร้อยละ 37.2)  รองลงมาคือ ยึดหลักความพอเพียงในการบริหารประเทศ (ร้อยละ 16.7)  และยึดหลักความซื่อสัตย์สุจริต
ไม่คอร์รัปชั่น (ร้อยละ 14.9)
 
                 ดังรายละเอียดต่อไปนี้
 
             1. สิ่งที่คนไทยตั้งใจจะทำถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมายุ
                 ครบ 84 พรรษา 5 อันดับแรก คือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
จะทำความดีและเป็นคนดีของสังคมถวายในหลวง
53.7
จะทำบุญ ปฏิบัติธรรม เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล
15.7
จะจุดเทียนถวายพระพรให้พระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัวทรงหายประชวร
มีพระวรกายแข็งแรง และมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน
9.6
จะช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วม เช่น บริจาคสิ่งของ เป็นจิตอาสา ฯลฯ
4.1
จะปลูกต้นไม้ ปลูกป่า ถวายในหลวง
3.6
 
 
             2. พระราชจริยวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่คนไทยจะน้อมนำมาใช้เป็นแบบอย่าง
                 ในการดำเนินชีวิตมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ

 
ร้อยละ
การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายและพอเพียง
50.0
การมีความกตัญญู
10.9
การประหยัดอดออม
10.7
การเสียสละเพื่อส่วนรวม
10.7
การมีความเพียรพยายาม
5.1
 
 
             3. พระบรมราโชวาทหรือพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่คนไทยประทับใจ
                 และจดจำได้มาก ที่สุด 5 อันดับแรก คือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
 
ร้อยละ
เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
58.9
เรื่องการรู้รักสามัคคีของคนไทย
10.3
เรื่องการบริหารจัดการน้ำ สร้างเขื่อน ฝายชลอน้ำ
6.0
พระปฐมบรมราชโองการ “เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์
แห่งมหาชนชาวสยาม”
5.2
เรื่องการเสียสละเพื่อส่วนรวม
3.8
 
 
             4. หลักการหรือแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่คนไทยต้องการให้รัฐบาลน้อมนำ
                 ไปปฏิบัติเนื่อง ในวโรกาสเฉลิมพระชนมายุครบ 84 พรรษา มากที่สุด 5 อันดับแรก คือ
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
ยึดหลักความสามัคคี ไม่แบ่งพวกพ้องในการบริหารประเทศ
37.2
ยึดหลักความพอเพียงในการบริหารประเทศ
16.7
ยึดหลักความซื่อสัตย์สุจริต ไม่คอร์รัปชั่น
14.9
บริหารจัดการเรื่องน้ำอย่างเป็นรูปธรรม ตามแนวพระราชดำรัสของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2538
12.6
เสียสละเพื่อส่วนรวมให้นึกถึงประโยชน์ของประชาชนมาก่อน
9.6
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา
ครบ 84 พรรษา มหามงคล เกี่ยวกับเรื่องที่ตั้งใจจะทำถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชจริยวัตรที่งดงาม พระบรมราโชวาทที่ชาวไทยประทับใจ ตลอดจนแนวคิดและหลักการที่พระราชทานให้แก่ประชาชนชาวไทย เพื่อสะท้อนมุมมอง
ความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้วยวิธี
การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มจากเขตการปกครองทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก
ได้แก่ เขตคลองเตย คลองสามวา ดินแดง ดุสิต ทวีวัฒนา ทุ่งครุ บางกะปิ บางขุนเทียน บางเขน บางซื่อ บางนา บางรัก
ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบฯ พญาไท พระนคร ภาษีเจริญ ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง สวนหลวง สาทร และหลักสี่
และปริมณฑล 3 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร จากนั้นจึงสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะ
สัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,133 คน เป็นเพศชายร้อยละ 50.1 และเพศหญิงร้อยละ 49.9
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุ
คำตอบเองโดยอิสระ (Open Form) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและ
ประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  28 - 30 พฤศจิกายน 2554
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 2 ธันวาคม 2554
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
568
50.1
             หญิง
565
49.9
รวม
1,133
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
300
26.2
             26 – 35 ปี
273
24.2
             36 – 45 ปี
274
24.3
             46 ปีขึ้นไป
286
25.3
รวม
1,133
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
800
70.6
             ปริญญาตรี
299
26.5
             สูงกว่าปริญญาตรี
34
2.9
รวม
1,133
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
103
9.1
             พนักงาน / ลูกจ้่าง บริษัทเอกชน
229
20.2
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
377
33.3
             รับจ้างทั่วไป
201
17.7
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
73
6.5
             อื่นๆ อาทิ นักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น
150
13.2
รวม
1,133
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776